วันศุกร์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ประกวดแบบปรับปรุงอาคารสมาคมสถาปนิกสยาม

29มค53 | โครงการประกวดแบบปรับปรุงอาคารสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์และภูมิทัศน์ เพื่อการอนุรักษ์พลังงาน และรักษาสิ่งแวดล้อม


เนื่องจากสภาพแวดล้อมที่ถูกทำลายเพิ่มขึ้นไม่เว้นแต่ละวัน การส่งเสริมให้มีการพัฒนาสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้นหรือลดการทำลายสิ่งแวดล้อมให้ น้อยลงจึงเป็นความพยายามที่เกิดขึ้นในทุกๆหน่วยของสังคม ในสถาปัตยกรรมก็เช่นเดียวกัน การปรับเปลี่ยนอาคารที่มีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและพลังงานที่เกินพอดีซึ่ง เป็นสาเหตุโดยตรงของปัญหาสิ่งแวดล้อม เช่น ปัญหาโลกร้อน ฯลฯ มาสู่อาคารที่มีการคำนึงถึงสภาพแวดล้อม การอนุรักษ์พลังงานและการอยู่อย่างยั่งยืนอย่างที่เราเรียกกันว่า Sustainable architecture จึงมีความสำคัญเป็นอย่างมากต่อมวลมนุษยชาติ

ในฐานะผู้ที่มีส่วนในการกำหนดแนวทางของงานสถาปัตยกรรมในประเทศของเรา สมาคมสถาปนิกสยามฯได้ดำเนินการส่งเสริมสถาปัตยกรรมยั่งยืน (Sustainable architecture) เรื่อยมาไม่ว่าจะเป็นการจัดอบรมสัมมนา การให้รางวัลแก่อาคารดีเด่นในด้านนี้ เป็นต้น ในช่วงเวลานี้ซึ่งอาคารสมาคมสถาปนิกสยามฯ ได้ดำเนินมาถึงวาระที่ควรจะต้องมีการซ่อมแซมและปรับปรุงอาคาร ประกอบกับความจำเป็นในการปรับปรุงองค์กรเพื่อตอบสนองกับ Sustainable architecture ทางสมาคมสถาปนิกสยามฯ จึงได้มีการจัดการประกวดแบบการปรับปรุงอาคารสมาคมสถาปนิกสยามฯ และภูมิทัศน์เพื่อการอนุรักษ์พลังงานและรักษาสิ่งแวดล้อมขึ้นเพื่อชวนเชิญ สถาปนิกเข้าร่วมกันเสนอแนวทางการอนุรักษ์พลังงานและรักษาสิ่งแวดล้อมสำหรับ อาคารสมาคมสถาปนิกสยามฯ และอีกทั้งยังจะทำให้อาคารสมาคมสถาปนิกของเราเป็นอาคารตัวอย่างเพื่อสถาปนิก ได้เรียนรู้และปฏิบัติตาม

วัตถุประสงค์
1. เพื่อปรับปรุงอาคารสมาคมสถาปนิกแห่งประเทศไทยเพื่อการอนุรักษ์พลังงานและรักษาสิ่งแวดล้อมเพื่อเป็นตัวอย่างอันดีแก่วงการสถาปนิก
2. เพื่อส่งเสริม สนับสนุนและเผยแพร่แนวคิด เทคนิคและวิธีการออกแบบอาคารเขียว ผ่านการประกวดสถาปัตยกรรม สำหรับเป็นอาคารตัวอย่างในการนำไปประยุกต์ใช้และดำเนินการต่อไป
3. เพื่อปลูกจิตสำนึกในด้านการอนุรักษ์พลังงานและคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม
4. เพื่อนำผลงานอาคาร ที่ได้รับการคัดเลือกไปแสดงภายในงานสถาปนิก ’53

คุณสมบัติของผู้เข้าประกวด
1. เป็นสมาชิกสมาคมสถาปนิกสยามฯ ประเภทบุคคลหรือนิติบุคคล
2. ผู้เข้าประกวดในนามบุคคลหรือกลุ่มบุคคลจะต้องเป็นบุคคลในสายวิชาชีพ สถาปัตยกรรมหรือวิชาชีพที่เกี่ยวข้องที่มีใบประกอบวิชาชีพ ในส่วนนิสิต นักศึกษามีสิทธิ์ส่งผลงานเข้าประกวดในฐานะของกลุ่มบุคคลโดยในกลุ่มบุคคล นั้นๆจะต้องประกอบด้วยบุคคลในสายวิชาชีพสถาปัตยกรรมหรือวิชาชีพที่เกี่ยว ข้องที่มีใบประกอบวิชาชีพ และผู้เข้าประกวดจะต้องเข้ารับการอบรมการออกแบบอาคารที่เป็นมิตรกับสิ่งแวด ล้อมของสมาคมสถาปนิกสยามฯ โดยสมาคมฯจะจัดอบรมให้โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย

ขอบเขตของงาน
- อาคารสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์
- บริเวณภูมิทัศน์โดยรอบอาคาร
- ที่จอดรถและหลังคากันแดด (การจัดระบบจราจร การจัดระบบการจอดรถ)

หลักเกณฑ์ในการพิจารณาผลงาน
ในการตัดสินผลงานออกแบบ จะนำหลักเกณฑ์แนวคิดสถาปัตยกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อม ที่คณะกรรมาธิการวิชาการ สาขาเทคโนโลยีอาคารและสิ่งแวดล้อม ได้จัดทำขึ้น มาปรับเปลี่ยนให้มีความเหมาะสมกับโครงการซึ่งจะมีเนื้อหาดังต่อไปนี้
1. บริบททางสังคมและชุมชน (Community & Cultural Context)
2. การใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างยั่งยืน (Sustainable Land Use)
3. การออกแบบเขตร้อนชื้น (Tropical Design Solution)
4. ความปลอดภัย ความน่าสบาย และสุขภาวะของผู้ใช้อาคาร (Occupant Health & Comfort)
5. ประสิทธิภาพการประหยัดพลังงาน (Energy Efficiency)
6. ประสิทธิภาพการประหยัดน้ำ (Water Efficiency)
7. วัสดุอาคารและการก่อสร้าง (Building Material & Construction)
8. การปรับใช้ ความประหยัดและพอเพียง (Flexibility & Adaptability)
9. ราคาค่าก่อสร้างและความเป็นไปได้ในการก่อสร้าง (Cost estimation & Feasibility)

การเสนองาน
เพื่อการลดการเปลืองทรัพยากรกระดาษ ผู้เข้าประกวดจะต้องส่งผลงานในรูปแบบของไฟล์ดิจิตอลผ่านทาง email:asaisaoffice@gmail.com เท่านั้น การส่งผลงานที่พิมพ์ออกมาบนกระดาษจะไม่ถูกพิจารณา ในการส่งผลงานจะแบ่งออกเป็นสองส่วนคือ 1. แบบเพื่อการนำเสนอ และ 2. รายงานแสดงแนวความคิด
นอกเหนือจากสองส่วนนี้แล้วทางกรรมการจะไม่พิจารณาเอกสารหรือการนำเสนออื่นๆ ในการจัดระเบียบผลงานที่ส่งเข้ามา ทางคณะกรรมการฯจะมีการเรียงตัวเลขให้กับผลงานที่เข้าร่วมการประกวดผู้ส่ง ประกวดจะต้องไม่มีการระบุชื่อหรือบริษัทลงในผลงาน

1. แบบเพื่อการนำเสนอ
แบบเพื่อการนำเสนอจะต้องประกอบด้วยผลงานในรูปแบบไฟล์ดิจิตอลซึ่งมีขนาด 840 (สูง) x 594 (กว้าง) มม. ในรูปแบบแนวตั้งไม่มากกว่า 2 แผ่นโดยผู้ส่งผลงานจะต้องระบุหมายเลขหน้าที่ชัดเจนบนด้านล่างขวาของผลงานทุก แผ่น ผลงานจะต้องอยู่ในรูปแบบของ JPEG ไฟล์มีความละเอียด 720 ppi ในโหมดสี RGB และมีขนาดของไฟล์ไม่เกิน 2.5 Mb
ผลงานจะต้องนำเสนอแบบทางสถาปัตยกรรม(ผังพื้น / รูปตัดอาคาร / รูปตั้งอาคาร) หรือแบบอื่นๆที่จำเป็นต่อการสื่อสารแนวความคิดรวมทั้งข้อมูลแสดงค่า ประสิทธิภาพต่างๆ ที่เกิดจากการคำนวณ การจำลองด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ฯลฯ ตามความเหมาะสม

2. รายงานแสดงแนวความคิด
แนวความคิดในการออกแบบอย่างน้อยประกอบด้วยคำอธิบายงานภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ไม่เกิน 400 คำ บทความควรใช้ตัวอักษร Cordia new ขนาด 14 และช่องว่างระหว่างบรรทัดควรจะเป็น Single spaced ในรายงานอาจจะมีรูปภาพประกอบได้ แต่ไม่ควรทำให้รายงานทั้งหมดมีความยาวเกินกว่า 2 หน้า

ภาษาที่ใช้ในการประกวด
ภาษาไทย หรือ หากเป็นภาษาอังกฤษ ต้องมีการบรรยายเป็นภาษาไทยประกอบ

กรรมสิทธิ์ของผลงาน
ผลงานถือเป็นกรรมสิทธิ์ของสมาคมสถาปนิกสยามฯ

การคัดเลือก
แบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 พิจารณาคัดเลือกผู้ประกวดจากขั้นตอนที่ 1 จำนวน 5 ทีม เข้ามาทำการนำเสนอกับคณะกรรมการฯในขั้นตอนที่ 2 เพื่อการพิจารณาคัดเลือกผู้ชนะการประกวดแบบ

รางวัลการประกวดแบบ
ผู้ได้รับการคัดเลือกในขั้นตอนที่ 1 จำนวน 5 ทีม จะได้รับเงินรางวัลทีมละ 50,000 บาท และผู้ชนะการประกวดแบบในขั้นตอนที่ 2 จะได้รับการว่าจ้างให้ทำการออกแบบและจัดทำแบบก่อสร้างจริง ในอัตราค่าบริการวิชาชีพตามที่กำหนดไว้ในคู่มือสถาปนิกสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์

คณะกรรมการคัดเลือกผู้เสนองาน
ขั้นต้นและขั้นสุดท้ายจะดำเนินการโดยคณะกรรมการตัดสิน ผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งประกอบด้วย
1. คุณฤาชา รัชชนันท์ เลขาธิการสภาสถาปนิก
2. คุณวิญญู วานิชศิริโรจน์ กรรมการสถาบันอาคารเขียว
3. คุณกรรณิการ์ รัตนปรีดากุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท สถาปนิก สเปซไทม์ จำกัด
4. ผศ.ดร. อรรจน์ เศรษฐบุตร ประธานกรรมาธิการวิชาการด้านเทคโนโลยีอาคารและสิ่งแวดล้อม สมาคมสถาปนิกสยามฯ
5. คุณเกชา ธีระโกเมน กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็นไวรอนเมนตอลเอ็นจิเนียริ่งคอนซัลแตนส์ จำกัด (ECC)

กำหนดการ

อบรม 28 พฤศจิกายน 2552
ส่งผลงานขั้นต้น 29 มกราคม 2553
คณะกรรมการพิจารณาเลือกผลงานในขั้นที่ 1 เพื่อนำเสนอผลงานในขั้นที่ 2 6 กุมภาพันธ์ 2553
ประกาศผลผู้ผ่านการพิจารณาขั้นต้น 14 กุมภาพันธ์ 2553
ผู้ผ่านการพิจารณาขั้นต้นนำเสนอแบบต่อคณะกรรมการ 27 กุมภาพันธ์ 2553
ประกาศผล 5 มีนาคม 2553

การแสดงผลงานที่ได้รับรางวัล
สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ จะแสดงผลงานที่ส่งเข้าประกวดในงานสถาปนิก ’53 พร้อมกันกับการดำเนินการเชิญผู้เกี่ยวข้องกับอาคารที่ได้รับรางวัลร่วม สัมมนาเพื่ออธิบายแนวคิดต่างๆ ต่อสมาชิก นิสิตนักศึกษา และ/หรือ ผู้ที่สนใจทั่วไป

ประกาศผลการตัดสิน
วันที่ 10 มีนาคม 2553 ทางเว็บไซต์: http://www.asa.or.th

การจัดแสดงผลงาน
จัดแสดงภายในงานสถาปนิก ’53 ระหว่างวันที่ 30 เมษายน 2553 - 5 พฤษภาคม 2553

ประธานคณะทำงานโครงการฯ น.ต.ธเนศวร์ วงศ์ธัญญกรณ์

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
คุณกัลยาพร จงไพศาล โทร. 02-319-6555 กด 203 , 081-048-7771
โทรสาร. 02-319-6555 กด 6, 02-319-6419 หรือดูรายละเอียดได้ทางเว็บไซต์: http://www.asa.or.th

ช่วงเวลา:
Fri, 01/29/2010
AttachmentSize
ใบลงทะเบียนฯ90.16 KB

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น