วันพฤหัสบดีที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2552

โครงการประกวดการ์ตูนวัยมันรู้ทันบริษัทบุหรี่ No Smoking Cartoon Against Tobacco Industry Contest

โครงการประกวดการ์ตูนวัยมันรู้ทันบริษัทบุหรี่

No Smoking Cartoon Against Tobacco Industry Contest

ความสำคัญ

จากคำกล่าวของนักรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ที่ว่า “ถ้าต้องการขจัดมาเลเรีย ให้ศึกษายุงให้ละเอียด แต่ถ้าต้องการขจัดมะเร็งปอด ให้ศึกษาหรือรู้ให้ทันบริษัทบุหรี่” เพราะ บุหรี่ คือ สินค้าถูกกฎหมายเพียงอย่างเดียวที่ทำร้ายผู้บริโภคจากการใช้งานตามปกติ

แสดง ให้เห็นว่า หากจะแก้ปัญหาการสูบบุหรี่ให้ประสบความสำเร็จ จำเป็นจะต้องรู้เท่าทันการตลาดของบริษัทบุหรี่ โดยเฉพาะการตลาดที่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นเยาวชน เพราะ

  • บริษัทบุหรี่ไม่เคยยอมรับว่า การสูบบุหรี่เป็นสิ่งไม่ดี แต่บอกเสมอว่าการสูบบุหรี่เป็นเรื่องของการตัดสินใจของแต่ละบุคคล
  • บริษัทบุหรี่ไม่เคยยอมรับว่า บุหรี่ เป็นสิ่งเสพติด ทั้งๆที่มีรายงานทางการแพทย์ระบุชัดเจนว่า นิโคตินในบุหรี่ คือ สารเสพติดมากว่า 20 ปี และมีฤทธิ์เสพติดมากกว่าโคเคนหรือเฮโรอิน ถึง 6 เท่า
  • มีหลักฐานชัดเจนว่าบริษัทบุหรี่จ่ายเงินให้ผู้สร้างภาพยนตร์ฮอลีวู้ดหลายเรื่อง เพื่อทำให้ตัวเอกของเรื่องสูบบุหรี่ หรือให้เห็นซองบุหรี่ ทำให้ผู้ชมโดยเฉพาะเยาวชนเข้าใจว่าการสูบบุหรี่เป็นพฤติกรรมปกติในสังคม ซึ่งนำไปสู่การเลียนแบบได้
  • มีหลักฐานชัดเจนว่าบริษัทบุหรี่ มีนโยบายทางการตลาดพุ่งเป้าไปที่เยาวชน ดังเช่นคำพูดของบริษัทบุหรี่ที่ปรากฏในเอกสารลับของบริษัท เช่น
    • “ฐานการทำธุรกิจของเรา อยู่ที่เด็กมัธยมปลาย”
    • “การจะให้บริษัทเราอยู่รอดและก้าวหน้าต่อไป เราจะต้องช่วงชิงส่วนแบ่งตลาดที่เป็นเยาวชนมาเป็นของเราในระยะยาว ....”
    • “ถ้า หากบริษัทบุหรี่ต้องหยุดทำการตลาดที่พุ่งเป้าไปที่เด็กๆ บริษัทบุหรี่ก็จะ ล้มละลายภายใน 25 ถึง 30 ปี เพราะจะไม่มีลูกค้าเพียงพอที่ธุรกิจจะอยู่ได้”
  • มีหลักฐานชัดเจนว่าบริษัทบุหรี่ สนับสนุนกิจกรรมด้านกีฬา ศิลปะ วัฒนธรรมและดนตรี เพียงเพื่อให้เข้าถึงเยาวชน และเพื่อสร้างภาพพจน์
    • “ธุรกิจของเราคือขายบุหรี่ ไม่ใช่ธุรกิจด้านกีฬา เราใช้ช่องทางด้านกีฬาเป็นช่องทางโฆษณาสินค้าของเรา...”
  • มีหลักฐานชัดเจนว่า บริษัทบุหรี่ใช้โครงการเพื่อสังคม (CSR) เป็นเครื่องมือในการสร้างภาพพจน์ของบริษัทบุหรี่
    • “การ อุปถัมภ์ (การบริจาค) ก็คือส่วนสำคัญของการตลาดเพื่อเพิ่มยอดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของท่าน ไม่มีใครหรอกที่จะหยิบยื่นยื่นเช็คใบใหญ่เพียงเพื่อให้เกิดความรู้สึกอบอุ่น เท่านั้น”
  • นายวอร์เรน บัพเฟต มหาเศรษฐีพันล้านอดีตผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทบุหรี่ อาร์ เจ เรย์โนลด์ กล่าวว่า
    • “ผมจะบอกให้ว่าทำไม ผมจึงชอบที่จะทำธุรกิจบุหรี่ เพราะมันลงทุนเพียงไม่กี่เพนนี แต่...สามารถขายได้หลายดอลลาร์”
  • ตัวแทนของบริษัทบุหรี่รอทแมนส์ตอบคำถามที่ว่า
    • “การขยายบุหรี่เข้าสู่ประเทศกำลังพัฒนานั้นชอบด้วยศีลธรรมหรือไม่” ว่า “คง ไม่ฉลาดที่จะละเลยตลาดที่กำลังขยายตัว ผมตอบคำถามยุ่งยากในเชิงศีลธรรมไม่ได้หรอก เราทำธุรกิจเพื่อสร้างความพอใจให้กับผู้ถือหุ้นบริษัทเรา”

มาร่วมกันฉีกหน้ากากธุรกิจบุหรี่

ดัง นั้น มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ ร่วมกับสถาบันการ์ตูนไทย มูลนิธิเด็ก โดยการสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) จึงเชิญชวนเยาวชนผู้เป็นกลุ่มเป้าหมายสำคัญของธุรกิจบุหรี่ร่วมกันฉีก หน้ากากพ่อค้าสินค้าแห่งความตาย โดยส่งผลงานการ์ตูนช่องเข้าร่วมประกวดใน

โครงการ ประกวดการ์ตูนวัยมันรู้ทันธุรกิจบุหรี่ หัวข้อ

"How do you market death? : ธุรกิจบุหรี่ขายความตายอย่างไร?"

กติกาการประกวด

  • คุณสมบัติผู้ส่งผลงานเยาวชนที่กำลังศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย – ระดับอุดมศึกษา
  • เป็นผลงานการ์ตูนขนาด 1 - 4 ช่อง วาดบนกระดาษขนาด A 3 (29.7 x 42 ซม.)
  • ไม่จำกัดเทคนิค
  • ไม่จำกัดจำนวนผลงาน
  • ดาวน์โหลดใบสมัครได้ที่ www.ashthailand.or.th
  • ส่งผลงาน(พร้อมแนบใบสมัคร) ทางไปรษณีย์ หรือ ส่งด้วยตนเองได้ที่ มูลนิธิ รณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ 36/2 ซ. ประดิพัทธ์ 10 ถ. ประดิพัทธ์ แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400 โทร 02 – 278 -1828
  • ผลงานทุกชิ้น ที่เข้ารอบถือเป็นกรรมสิทธิ์ของมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่
  • หลักเกณฑ์การตัดสิน
    • สามารถสื่อสารได้ตรงตามหัวข้อที่กำหนด ( 50%)
    • ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ( 30%)
    • ความสวยงาม ( 20%)
  • ผลการตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด
  • ผลงานที่ส่งเข้าประกวดทุกชิ้น มูลนิธิฯ จะไม่จัดส่งคืน

*ปิดรับผลงานวันที่ 15 ตุลาคม 2552 ประกาศผลการตัดสินทางเว็บไซต์ www.ashthailand.or.th ในวันศุกร์ที่ 30 ตุลาคม 2552*

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น