วันเสาร์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

GIT Gem and Jewelry Design Award 2010 The Force of Nature – The Impressionable Design for Change

คุณสมบัติของผู้สมัครเข้าร่วมการประกวด

การ ประกวดครั้งนี้ เหมาะสำหรับผู้มีใจรักในการออกแบบเครื่องประดับ ที่มีความคิดสร้างสรรค์ สามารถวาดภาพ และลงสีเครื่องประดับได้ หรือใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการสร้าง

แบบได้ โดยแบ่งเป็น 2 ประเภท

1 ประเภทเยาวชน อายุระหว่าง 15 - 25 ปี

2 ประเภทประชาชนทั่วไป อายุระหว่าง 26 - 40 ปี

คำอธิบายเพิ่มเติม: สำหรับเป็นแนวทางในการออกแบบ

นับ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน สิ่งแวดล้อมมีความสำคัญกับมนุษยชาติด้วยกันทั้งสิ้น เพราะทุกชีวิตต้องอาศัยสิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยในการดำเนินชีวิต ทั้งมนุษย์ พืช และสรรพสัตว์ทั้งหลาย ทุกชีวิตจำเป็นต้องพึ่งพาสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัวเรา รวมถึงสิ่งที่มนุษย์คิดค้นสร้างขึ้นเพื่อความสะดวกสบาย และจากพฤติกรรมของมนุษย์ถ้าจำกัดอยู่เพียงเพื่อดำรงชีวิต ปัญหาสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันคงจะไม่เกิดขึ้น แต่เนื่องจากทรัพยากรธรรมชาติมีอย่างจำกัด และทิศทางการพัฒนาประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาเศรษฐกิจ และอุตสาหกรรม จึงทำให้เกิดการใช้ทรัพยากรต่างๆ อย่างมากมายเพื่อผลิตสินค้า แม้แต่การพัฒนาประเทศก็นำไปสู่การเกิดภาวะมลพิษในที่สุด ซึ่งปัญหาดังกล่าวได้ส่งผลสะท้อนกลับมาคุกคามการดำรงชีวิตของมนุษย์เอง ในรูปของวิกฤตการณ์สิ่งแวดล้อมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ทั้ง นี้ หากสิ่งแวดล้อมมีการเปลี่ยนแปลงก็จะส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงของมนุษย์ และสิ่งมีชีวิตต่างๆ และหากสิ่งแวดล้อมเกิดปัญหามลพิษ ก็จะส่งผลให้เกิดอันตรายต่อมนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ เช่นกัน ประเทศต่างๆ ได้ให้ความสำคัญต่อปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างมากจึงได้มีการจัดตั้งองค์กรขึ้นมา เรียกว่า สหภาพสากลว่าด้วยการอนุรักษ์” (The World Conversation Union) ขึ้นมาเมื่อ พ.ศ.2491 มี สำนักงานใหญ่อยู่ที่ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทุกฝ่ายร่วมมือในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อมและเพื่อสร้างความเชื่อมั่นว่า การใช้ทรัพยากรธรรมชาติจะเป็นไปอย่างยั่งยืนและเพียงพอ สำหรับประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อมโลกที่สำคัญ อาทิเช่น การสร้างความสมดุลระหว่างการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกับความ ต้องการใช้ทรัพยากรเหล่านั้น

1. เป็น การนำปัญหาเกี่ยวกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนามาพิจารณาร่วมกัน เพื่อจะได้นำไปบริหารจัดการให้เหมาะสมเพื่อความยั่งยืนต่อไป
2. ความ ยากจนและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ เป็นการหาวิธีการที่จะบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืนเพื่อให้ เกิดประโยชน์ต่อคนยากจนให้มากที่สุด รวมทั้งเป็นการส่งเสริมให้คนยากจนได้หาเลี้ยงชีพจากทรัพยากรเหล่านั้นโดยส่ง ผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติให้น้อยที่สุด
3. การ สูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ นับเป็นปัญหาสำคัญร่วมกันเนื่องจากมีพืชและสัตว์จำนวนมากกำลังอยู่ในภาวะถูก คุกคามและเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์
4. ธุรกิจ และสิ่งแวดล้อม เป็นการนำภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลรักษาและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม ให้มากยิ่งขึ้น เช่น การบริหารจัดการด้านอุตสาหกรรมที่ดีเพื่อลดปัญหามลพิษของสิ่งแวดล้อมรวมทั้ง ลดการผลิตสินค้าที่เป็นผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม
11. หลักเกณฑ์ในการส่งผลงานเข้าประกวด

1. นักออกแบบต้องส่งผลงานแบบวาดเครื่องประดับเป็นคอลเลคชั่น จำนวนไม่ต่ำกว่า 3 ชิ้น ใน 1 ผลงาน โดยเลือกจากสร้อยคอ ต่างหู แหวน กำไล และเข็มกลัด ลงบนกระดาษขนาด A3

2. ผู้เข้าประกวดสามารถส่งผลงานได้ทั้งแบบที่เป็น ภาพวาดลงสีสวยงาม หรือภาพที่เขียนจากโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โดยผลงานที่ส่งเข้าประกวด ประกอบด้วย

2.1 ติดภาพผลงานที่ออกแบบลงบนกระดาษแข็งสีดำ เว้นขอบด้านละ 1 นิ้ว

2.2 ใส่ชื่อผลงาน พร้อมทั้งบรรยายแนวความคิดสั้นๆ ลงบนกระดาษขนาด 2 x 4 นิ้ว และแปะลงบนมุมขวาล่างของกระดาษแข็งสีดำ โดยห้ามใส่ชื่อ-นามสกุล และประวัติของผู้เข้าประกวดลงบนด้านหน้าของผลงาน

2.3 กรอกรายละเอียดให้ครบถ้วนลงในใบสมัคร และแปะที่ด้านหลังผลงาน พร้อมทั้งส่งสำเนาใบสมัครอีก 1 แผ่นสำหรับเจ้าหน้าที่เก็บเป็นหลักฐาน

3. ผล งานที่ส่งเข้าประกวดทุกชิ้นต้องเป็นผลงานใหม่ ไม่ลอกเลียนแบบมา ไม่เคยผลิตไว้จำหน่าย และต้องไม่เคยผ่านการประกวด หรือชนะการประกวดใดๆ มาก่อน

4. ผลงานที่ส่งเข้าประกวดสามารถประกอบด้วยอัญมณีชนิดใดก็ได้ หรืออาจนำวัสดุใหม่ๆ อาทิเช่น ไม้ พลาสติก เรซิ่น และเทคนิคการเย็บปักถักร้อยเข้ามาใช้ในผลงาน ซึ่งต้องสามารถผลิตได้จริง และสามารถจำหน่ายได้ในอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ

5. ผู้ส่งผลงานเข้าประกวดมีสิทธิ์ส่งผลงานได้คนละไม่เกิน 3 ผลงาน

6. ส่งผลงานประกวดออกแบบเครื่องประดับได้ที่ ฝ่ายฝึกอบรม สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ชั้น 3 อาคารวิจัยและตรวจสอบอัญมณี ภายในบริเวณคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

หมายเหตุ

· สามารถ Download รายละเอียดการประกวด ตัวอย่างแบบวาดและใบสมัครที่ http://www.git.or.th

· เจ้า ของผลงานตกลงให้สถาบันนำแบบที่ได้เข้ารอบตัดสินมาผลิตเป็นเครื่องประดับจริง โดยชิ้นงานเครื่องประดับดังกล่าวให้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของสถาบันแต่เพียงผู้ เดียว ซึ่งสถาบันจะจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ฯ แบบหมุนเวียน และงานนิทรรศการอื่นๆ ที่สถาบันเข้าร่วม ทั้งนี้ เจ้าของผลงานและผู้สนับสนุนการผลิตชิ้นงานสามารถนำแบบวาดของตนเองไปใช้สร้าง ผลงานอื่นๆ ต่อไปได้ตามที่ได้ตกลงกัน

· เจ้า ของผลงานที่ได้รับคัดเลือกให้ผลิตเป็นเครื่องประดับจริง จะต้องสามารถเข้าร่วมงานตัดสินการประกวดออกแบบเครื่องประดับ ครั้งที่ 4 ในวันเสาร์ที่ 16 ตุลาคม 2553 เวลา 14.00 16.00 น. ได้ มิเช่นนั้นจะถือว่าสละสิทธิ์

· ผลงานที่ไม่ได้รับคัดเลือก สามารถเข้ามารับคืนได้ที่ ฝ่ายฝึกอบรม สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ชั้น 3 อาคารวิจัยและตรวจสอบอัญมณี ภายในบริเวณคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในวันจันทร์ ศุกร์ เวลา 10.00 16.00 น. ภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2553 เท่านั้น (ยกเว้นวันหยุดราชการ) มิเช่นนั้น สถาบันขอสงวนสิทธิ์ในการคืนผลงานทั้งหมด

12. รางวัลสำหรับผู้ชนะการประกวด (รวมมูลค่า 16,500 $US หรือกว่า 580,000 บาท)

12.1 ประเภทเยาวชน ได้แก่

- รางวัลชนะเลิศ: เงินสดมูลค่า 3,000 $US พร้อมโล่เกียรติยศ และหลักสูตรฝึกอบรม “GIT Intensive Jewelry Design Course”

- รางวัลรองอันดับ 1: เงินสดมูลค่า 1,500 $US พร้อมโล่เกียรติยศ

- รางวัลรองอันดับ 2: เงินสดมูลค่า 1,000 $US พร้อมโล่เกียรติยศ

12.2 ประเภทประชาชนทั่วไป ได้แก่

- รางวัลชนะเลิศ: เงินสดมูลค่า 5,000 $US พร้อมโล่เกียรติยศ และหลักสูตรฝึกอบรม “GIT Intensive Gemology Course”

- รางวัลรองอันดับ 1: เงินสดมูลค่า 2,500 $US พร้อมโล่เกียรติยศ

- รางวัลรองอันดับ 2: เงินสดมูลค่า 1,500 $US พร้อมโล่เกียรติยศ

หมายเหตุ: หลักสูตรฝึกอบรมของสถาบันจะสงวนสิทธิ์สำหรับผู้ชนะเลิศในแต่ละประเภทเท่านั้น ซึ่งไม่สามารถโอนสิทธิ์ให้แก่บุคคลอื่นได้

12.3 รางวัลพิเศษ มี 2 รางวัล ได้แก่

- รางวัล Popular Design: มี 1 รางวัล เงินสดมูลค่า 1,000 $US

- รางวัลขวัญใจกรรมการ: มี 1 รางวัล เงินสดมูลค่า 1,000 $US (คัดเลือกจากผลงานที่ส่งเข้าร่วมประกวดทุกผลงาน)

หมายเหตุ: สำหรับ ผู้โชคดีที่เข้าร่วมสนุกในการโหวต ที่ได้รับการจับรายชื่อ จะได้รับสร้อยคอเงินแท้ประดับจี้พลอย โดยสามารถมารับของรางวัลดังกล่าวได้ที่ ฝ่ายฝึกอบรม ชั้น 3 สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)

* ทางสถาบันมอบโล่เกียรติคุณ สำหรับผู้สนับสนุนในการผลิตชิ้นงานของนักออกแบบ *

หมดเขตส่งผลงาน วันศุกร์ที่ 13 สิงหาคม 2553

การตัดสินการประกวด รอบคัดเลือกจากแบบวาด วันศุกร์ที่ 20 สิงหาคม 2553

รอบชิงชนะเลิศ วันเสาร์ที่ 16 ตุลาคม 2553


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น